นับตั้งแต่การระบาดของ COVID-19 ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ยุค E-Commerce อย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่ หรือจะเป็นร้านค้าขนาดเล็กต่างก็มีช่องทางจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์สำหรับผู้ประกอบการที่มีสินค้าพร้อมจำหน่าย แต่ยังไม่มีช่องทางขายออนไลน์ บทความนี้จะพาทุกคนไป Updated 10 แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ E-commerce ที่ดีที่สุดในปี 2025 ได้รับความนิยมและที่สำคัญคือต้องรองรับภาษาไทย เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ที่กำลังวางแผนสร้างเว็บไซต์ E-commerce ของตนเอง
Magento

หากคุณกำลังมองหาแพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ E-commerce ที่ทรงพลังและปรับแต่งได้สูงสุดสำหรับธุรกิจขนาดใหญ่ Magento (หรือ Adobe Commerce) คือตัวเลือกที่เรียกว่าเหมาะสมที่สุด เพราะมีความยืดหยุ่นและเสถียรภาพในระดับสูง มีระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ที่รองรับการขายผ่านหลายช่องทาง (Omnichannel) มีความปลอดภัยระดับสูงที่ตอบโจทย์มาตรฐานสากล และ Magento ได้รับความนิยมในประเทศไทยเพราะรองรับการตั้งค่าภาษาไทยและการเชื่อมต่อกับระบบการชำระเงินของประเทศไทยได้
จุดเด่นของ Magento
- ปรับแต่งไม่จำกัด โดยเราสามารถออกแบบฟีเจอร์และหน้าตาเว็บได้ตามต้องการ ยืดหยุ่นสูง
- จัดการหลาย Store ในระบบเดียว ซึ่งจะเหมาะสำหรับแบรนด์ที่ขยายสาขาหรือขายสินค้าหลากประเภท
- รองรับการเติบโตมีความสามารถในการ Scalability สูง รับมือกับ Traffic มหาศาลได้แม้ในช่วงที่ Volume เพิ่มขึ้นมาแบบก้าวกระโดดเช่น Flash Sale เป็นต้น
- ระบบมีการอัปเดตต่อเนื่อง
Magento เหมาะกับใคร?
ธุรกิจขนาดกลางถึงใหญ่ที่มีความพร้อมด้านทีมพัฒนาและงบประมาณเพียงพอ เนื่องจาก Magento ต้องการการติดตั้งและดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายด้านโฮสติ้งและ Maintenance แต่ไม่สูงเท่ากับพัฒนาทั้งหมดขึ้นมาเอง อีกทั้งยังแลกมาด้วยความรวดเร็วในการพัฒนาเว็บไซต์ E-Commerce ขึ้นมา
Shopify

เมื่อพูดถึงแพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ E-commerce ที่ครบวงจรและตอบโจทย์ธุรกิจทุกระดับ “Shopify” ยังคงเป็นชื่อแรกที่หลายคนนึกถึงในปี 2025 ด้วยความง่ายตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงระบบจัดการหลังบ้านที่ทรงพลัง แพลตฟอร์มนี้ช่วยให้ผู้ใช้สร้างร้านค้าออนไลน์ได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง แม้ไม่มีพื้นฐานทางเทคนิคก็ตาม ที่สำคัญ Shopify อัปเดตฟีเจอร์อย่างต่อเนื่องอะไรใหม่มา Shopify เอาเข้ามาหมด ด้านการปรับแต่งหน้าตาร้านก็รองรับภาษาไทย รวมถึงระบบชำระเงินที่รองรับวิธีใช้งานในประเทศไทย เช่น Internet Banking, QR Code และบัตรเครดิต
จุดเด่นของ Shopify
- รองรับภาษาไทยแบบเต็มรูปแบบ ทั้งหน้าเว็บไซต์ ระบบหลังบ้าน และการแจ้งเตือนอีเมล
- เชื่อมต่อกับขนส่งไทยได้สะดวก เช่น Kerry, Flash Express และ LINE MAN เพื่อคำนวณค่าส่งอัตโนมัติ
- SEO-Friendly ปรับแต่ง Meta Tag, URL และคอนเทนต์ให้ติดอันดับ Search Engine
แผนราคายืดหยุ่น เริ่มต้นเพียง 29 ดอลลาร์/เดือน พร้อมทดลองใช้ฟรี 3 วัน
WooCommerce

หากจะหาเว็บไซต์ E-Commerce แบบที่ปรับแต่งได้ยืดหยุ่นสูง WooCommerce คือคำตอบ! แพลตฟอร์มนี้เป็นปลั๊กอินอีคอมเมิร์ซบน WordPress ที่ได้รับความนิยมอันดับต้นๆ ของโลก ด้วยความเป็นระบบ Opensource ใช้งานได้ Plugin Feature เบื้องต้นได้ฟรี สามารถออกแบบร้านค้าออนไลน์ได้ตามสไตล์ของตัวเอง แม้ไม่มีพื้นฐานการเขียน Code รองรับทุกความต้องการตั้งแต่ร้านขนาดเล็กไปจนถึงองค์กรใหญ่ ที่สำคัญ WooCommerce ยังสนับสนุนภาษาไทยได้เต็มรูปแบบ ทั้งในส่วนของการตั้งค่าร้านค้า การจัดการสินค้า และการเชื่อมต่อกับช่องทางการชำระเงินของประเทศไทยได้
จุดเด่นของ WooCommerce
- เป็นระบบทำงานร่วมกับ WordPress ซึ่งจะทำให้เราหาผู้พัฒนาได้ง่าย นักพัฒนาในไทยค่อนข้างคุ้นเคยกับระบบของ WordPress อีกทั้งยังหาข้อมูลสอนทำได้ง่ายตาม Youtube และเว็บไซต์ต่างๆ
- เราสามารถเลือกใช้ธีมและปลั๊กอินทั้งฟรีและเสียเงิน เพื่อเพิ่มลูกเล่น เช่น ระบบสมาชิก คูปองส่วนลด หรือการติดตามการจัดส่ง ซึ่งใช้ร่วมกับหลายๆ Plugin ของ WordPress
- รองรับการขายทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นสินค้าจับต้องได้ บริการดิจิทัล หรือแม้แต่สมาชิกก็ยังทำได้
- ต้นทุนต่ำ ไม่มีค่า % ที่ต้องเสียรายเดือน
** ทิปเพิ่มเติม : สำหรับมือใหม่ที่กังวลเรื่องความซับซ้อน ลองเลือกโฮสติ้งไทยที่มีบริการติดตั้ง WordPress และ WooCommerce หาที่มี Support ด้านการให้คำปรึกษาก็จะช่วยเราได้ หากเราไม่มีความรู้อะไรเลย
Wix

ถ้าขึ้นชื่อเรื่องความใช้งานง่าย สร้างง่าย รวดเร็ว สะดวก และตอบโจทย์ทั้งร้านค้าเล็กและกลาง Wix คือหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจ เราสามารถสร้างเว็บไซต์ตั้งแต่ต้นจนจบด้วยระบบ Drag-and-Drop ที่ไม่จำเป็นต้องมีทักษะการเขียนโค้ดก็ออกแบบเว็บได้สวยงามได้ มีเทมเพลตหลากหลายสไตล์ให้ปรับแต่ง รองรับภาษาไทยระบบชำระเงินออนไลน์ที่รองรับผู้ให้บริการในประเทศไทย
BigCommerce
อีกหนึ่งแพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ E-commerce ที่มีฟีเจอร์ครบครันในตัวที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถจัดการร้านค้าออนไลน์ได้ ไม่จำเป็นต้องมีทักษะเขียนโค้ดให้ยุ่งยาก แพลตฟอร์มนี้โดดเด่นในด้านการรองรับการขายผ่านหลายช่องทาง (Multi-channel) อัตโนมัติ ยังเชื่อมต่อกับระบบชำระเงินทั่วโลกได้อย่างหลากหลาย รองรับภาษาไทยและระบบชำระเงินของไทยได้
จุดเด่นของ BigCommerce
- ระบบหลังบ้านที่รองรับสินค้าได้ไม่จำกัดจำนวน
- มีระบบการจัดการ Stock สินค้าที่ดี ยืเหยุ่น
- จัดการคำสั่งซื้อปริมาณมากได้ง่าย
- สามารถตั้งค่าเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลผ่าน API ได้ไม่ยาก
- มีเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลการขายแบบละเอียด
- มีทีม Support ที่พร้อมช่วยเหลือ 24 ชั่วโมง (ภาษาอังกฤษ)
OpenCart
OpenCart เป็นอีกหนึ่ง Platform สร้างเว็บขายของ E-Commerce แบบ Opensource ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ แม้จะไม่เป็นที่รู้จักในประเทศไทยมาก แต่ระบบมีความยืดหยุ่นสูง ผ่านการพัฒนามาอย่างยาวนาน มี Function ต่างๆให้เลือกใช้มากมายผ่านการเลือกโมดูลเสริมจาก Extension Market กว่า 13,000 รายการ งรองรับการทำงานหลายภาษา (รวมถึงภาษาไทย) และรอบรับหลายสกุลเงิน ที่สำคัญเราสามารถใช้ได้ฟรี โดยต้องมี Host และ Domain เอาไว้รองรับ
จุดเด่นของ OpenCart
- ต้นทุนจับต้องได้ มีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นต่ำเพียงค่า Host และ Domain
- มีชุมชนนักพัฒนากว้างขวาง มีกลุ่มผู้ใช้และนักพัฒนาในไทยคอยสนับสนุน แก้ไขปัญหา
- รองรับทุกการชำระเงินสามารถเชื่อมต่อได้กับช่องทางชำระเงินท้องถิ่น เช่น Internet Banking, PromptPay และบัตรเครดิต
Squarespace
ถ้าเน้นไปในด้านทำให้ง่าย และสวยงาม “Squarespace” คือตัวเลือกที่ดี เพราะมีความโดดเด่นด้วยเทมเพลตดีไซน์โมเดิร์นที่ปรับแต่งได้ง่าย และมีให้เลือกเยอะมาก มีฟังก์ชันพื้นฐานครบถ้วน แต่ Squarespace จะไม่มีภาษาไทยเป็นทางการ แต่สามารถเพิ่มเนื้อหาภาษาไทยได้เองผ่าน Editor และไม่รองรับการชำระเงินที่นิยมใช้ในประเทศไทย
จุดเด่นของ Squarespace
- มีเทมเพลตสไตล์ Minimalist ให้เลือกเยอะ โดยส่วนใหญ่จะเน้นไปทาง Lifestyle, Fashion และ Beauty พร้อมเครื่องมือปรับแต่งลวดลาย สีฟอนต์ และวีดีโอพื้นหลังได้อิสระ
- ระบบ All-in-One รวมทุกอย่างในที่เดียว ทั้งโดเมนเนม โฮสติ้ง และ SSL Certificate แบบอัตโนมัติ
- มีระบบ Mobile Management ควบคุมร้านค้าผ่านแอปมือถือได้ทุกระบบ
Ecwid
หากคุณมีเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาอยู่แล้ว แต่ต้องการเพิ่ม Function E-Commerce ลงไปในเว็บไซต์เดิมในรูปแบบของการแทรก Frame ลงไปโดยไม่ต้องเขียนโค้ดให้ยุ่งยาก Ecwid คือเครื่องมือที่เหมาะสมจะเอาไปใช้ และไม่ต้องเริ่มต้นเขียนเว็บไซต์ใหม่ตั้งแต่ศูนย์ รองรับการขายผ่านหลายช่องทาง ทั้งเว็บไซต์ เฟสบุ๊ก อินสตาแกรม แม้แต่หน้าร้านออฟไลน์ จัดการทุกอย่างในแดชบอร์ดเดียว ระบบรองรับภาษาไทยเต็มรูป เชื่อมต่อกับช่องทางการชำระเงินของประเทศไทย
จุดเด่นของ Ecwid
- แทรกร้านค้าเข้าเว็บไซต์เดิมได้ทันทีด้วย Widget ลากแล้วปล่อย แม้ไม่มีพื้นฐานเทคนิคก็ทำได้ในคลิกเดียว
- ขายครบทุกช่องทาง สามารถซิงค์สินค้าไปพร้อมกันทั้งเว็บไซต์, โซเชียลมีเดีย, และตลาดออนไลน์ (เช่น Lazada, Shopee) โดยไม่ต้องอัปเดตข้อมูลซ้ำ
- รองรับภาษาไทยแบบเต็มระบบตั้งแต่แดชบอร์ดจัดการสินค้า ไปจนถึงหน้าการชำระเงิน ลูกค้าสามารถใช้งานได้อย่างราบรื่น
Readyplanet R-Shop
แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ E-commerce สัญชาติไทยแบบครบวงจร ด้วยการออกแบบมาให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยโดยเฉพาะ โดดเด่นในเรื่องความง่ายต่อการใช้งาน ทุกอย่างเป็นภาษาไทย เหมาะสำหรับร้านค้าขนาดเล็กถึงกลางที่ต้องการเริ่มต้นขายออนไลน์แบบรวดเร็ว โดยไม่จำเป็นต้องมีทักษะทางเทคนิคขั้นสูง
จุดเด่นของ Readyplanet R-Shop
- รองรับระบบการชำระเงินไทย เช่น PromptPay, บัตรเครดิต และบริการเก็บเงินปลายทาง (COD) ที่เชื่อมต่อกับบริษัทขนส่งชั้นนำอย่าง Kerry Express และ Flash Express
- เชื่อมต่อกับช่องทาง Social Commerce โดยเฉพาะ LINE OA และ Instagram ได้แบบไร้รอยต่อ ช่วยจัดการคำสั่งซื้อจากหลายช่องทางในหน้าเดียว
- เทมเพลตสวยงามปรับแต่งได้ มากกว่า 50 แบบ พร้อมฟังก์ชันลากและวาง (Drag & Drop) ที่ใช้งานง่าย
- มีเครื่องมือการตลาดอัจฉริยะ เช่น คูปองส่วนลด ป๊อปอัปแจ้งสต็อกสินค้า และระบบรายงานวิเคราะห์ยอดขายแบบเรียลไทม์
- สนับสนุนลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านแชทไลน์และโทรศัพท์โดยทีมงานคนไทย
- ด้วยราคาเริ่มต้นไม่สูงมาเพียงเดือนละ 499 บาท
Lnwshop
ชื่อ Lnwshop เป็นแพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ E-commerce ที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน ออกแบบระบบมาโดยเน้นความสะดวกในการใช้งานและความเข้ากับบริบททางธุรกิจของไทยเป็นหลัก รองรับภาษาไทยเต็มรูปแบบ ทั้งระบบหลังบ้านและหน้าบ้าน เชื่อมต่อกับบริการขนส่งในประเทศ Kerry, Flash Express, ปณ. ไทย และ อื่นๆ และให้บริการเป็นภาษาไทย พูดคุยผ่าน Line OA และโทรศัพท์
ท้ายบทความ : แถม! สร้าง Sale Page ผ่านเว็บไซต์ E-commerce
อีกหนึ่งในวิธีง่ายๆ หากเราจะทดลองจำหน่ายสินค้าแบรนด์ของเรา คือการสร้างร้านตามเว็บไซต์ E-commerce ยอดนิยมเช่น Shopee, Lazada แม้เบื้องต้นจะมีค่า % ที่เราต้องจ่าย แต่ก็ถือเป็นช่องทางในการกระจายสินค้าที่ง่ายที่สุด เร็วที่สุด มี Traffic มหาศาล หากเราเริ่มขายได้ดีจนชื่อแบรนด์เริ่มติดตลาด ก็ค่อยหันมาพัฒนาเว็บไซต์ E-Commerce ของตัวเองได้ ประกอบคู่กับจำหน่ายในช่องทางเดิมที่มีอยู่แล้ว และพยายามดึงลูกค้าให้มาซื้อผ่านทางเว็บไซต์ของเรา นี้เป็น Trick เล็กๆ น้อยๆ ที่เอาไปปรับใช้ได้ สำหรับคนที่กำลังเริ่มเข้าสู่ E-Commerce เราอยากขอให้ทุกคนโชคดี ประสบความสำเร็จ!!
บริษัทมีแนวทางการพัฒนาเว็บไซต์ การตลาดออนไลน์ ที่เน้นคุณภาพ สร้างผลลัพธ์ได้จริง เพื่อช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโต ในโลกออนไลน์ พวกเรายินดีให้คำปรึกษา พร้อมวางแผนกลยุทธ์ภายใต้โจทย์ทางธุรกิจที่ชัดเจน